การแต่งกายของสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งมี 3 แบบ ดังนี้
- การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่
- การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบ เมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ
- ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้น ลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อภิโชค แซ่โค้ว, 2542: 22)
การแต่งกายยุคกรุงศรีอยุธยา จึงแบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ (สมภพ จันทรประภา, 2526: 28)
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น