วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การเดินทางสมัยก่อน

== กรุงเทพฯ เมื่อ ๕๐ ปีก่อน == big city
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเดินทางสมัยก่อน(((((((แต่โบราณกาลมาแล้ว ชีวิตประจำวันของคนไทย เกี่ยวพันอยู่กับลำแม่น้ำ จะปลูกบ้านสร้างเรือนกันที ก็ต้องเลือกปลูกในทำเลที่ใกล้แม่น้ำ หรือริมฝั่งแม่น้ำ วัดวาอารามส่วนมากก็ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ที่จับจ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนคือตลาด ก็ต้องเป็นที่ใกล้ริมลำแม่น้ำ แม้ธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของไทยก็มักจะเกี่ยวพันอยู่กับแม่น้ำ เป็นต้นว่า การทอดกฐิน การลอยกระทง การเล่นสนุกบางอย่างเป็นต้น จึงเห็นได้ว่าชีวิตจิตใจของคนไทยขึ้นอยู่กับแม่น้ำแท้ ๆ ที่บางแห่งหากน้ำเข้าไปไม่ถึง คนไทยก็มักจะช่วยกันขุดคลองให้เป็นทางน้ำไหลผ่านเข้าจนได้ ฉะนั้นในเมืองใหญ่ ๆ เช่นกรุงเทพฯ เราจะเห็นได้ว่ามีลำคลองมากมาย จนมีคำกล่าวว่ากรุงเทพฯ เท่ากับเป็นเมืองเวนิสตะวันออก ลำคลองที่เห็นกันในกรุงเทพฯ เวลานี้หลายท่านอาจเห็นไปว่า ไม่มีประโยชน์ มีไว้ทำไมกัน ถมเสียให้หมดรู้แล้วรู้รอดไปแต่ถ้าหลับตานึกย้อนไปถึงเมื่อ ๕๐–๖๐ ปีที่ล่วงมาแล้ว ลำคลองเหล่านี้แหละเท่ากับเป็นเส้นโลหิตใหญ่ของกรุงเทพฯ สมัยนั้นทีเดียว เพราะการสัญจรไปมา การค้าขาย การท่องเที่ยว ตลอดจนคมนาคมอื่น ๆ ของคนไทย ได้อาศัยลำน้ำและลำคลองมากยิ่งกว่าทางบก ข้อนี้สังเกตได้จากหลักฐานง่าย ๆ คือคนไทยโบราณมีความรู้ความชำนาญในการใช้เรือและรู้จักต่อเรือมากกว่าพาหนะที่ใช้บนบก เรือที่ต่อโดยฝีมือคนไทยก็มักรูปร่างและขนาดที่เหมาะแก่งานที่ใช้ เช่น พวกขุนนางอยากท่องเที่ยว เราก็มีเรือเก๋งไว้ให้เที่ยวโดยเฉพาะ ถ้าเป็นงานราชพิธีก็มีเรือหงส์ไว้ใช้ ถ้าต้องการเล่นเป็นเกมกีฬา เราก็มีเรือแข่ง นอกนั้น ก็มีเรือไว้ในบรรทุกเรือใช้งานต่าง ๆ เช่น เรือพายม้า เรือสำปั้น เรือหมู ถ้าต้องการไปไหนเร็ว ๆ และไปคนเดียวก็ใช้เรือบดเล็ก ๆ พายได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ทันอกทันใจ เรือต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ละแบบ แต่ละขนาด ล้วนเป็นเรือที่ต่อขึ้นใช้งานแต่ละอย่างได้อย่างเหมาะเจาะ นี่นับว่า การต่อเรือตลอดจน การประดิษฐ์แบบเรือ ในสมัยโบราณเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง แม้ในประเทศข้างเคียง เช่น พม่า มอญ ลาว เขมร มลายู เหล่านี้ ศิลปะการต่อเรือก็หาเจริญเท่าเมืองไทยไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น