อาณาจักรล้านนา (คำเมือง: ) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนาเช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยาแพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน[3] โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือวัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559
รถสมัยก่อน
ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนต์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย
บ้านคนสมัยก่อน
เรือนไทย คือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น
เนื้อหา
[ซ่อน]- 1ลักษณะทั่วไปของเรือนไทย
- 2โครงสร้าง
- 3เรือนไทยที่มีชื่อเสียง
- 4อ้างอิง
- 5แหล่งข้อมูลอื่น
การเดินทางสมัยก่อน
== กรุงเทพฯ เมื่อ ๕๐ ปีก่อน == big city
(((((((แต่โบราณกาลมาแล้ว ชีวิตประจำวันของคนไทย เกี่ยวพันอยู่กับลำแม่น้ำ จะปลูกบ้านสร้างเรือนกันที ก็ต้องเลือกปลูกในทำเลที่ใกล้แม่น้ำ หรือริมฝั่งแม่น้ำ วัดวาอารามส่วนมากก็ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ที่จับจ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนคือตลาด ก็ต้องเป็นที่ใกล้ริมลำแม่น้ำ แม้ธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของไทยก็มักจะเกี่ยวพันอยู่กับแม่น้ำ เป็นต้นว่า การทอดกฐิน การลอยกระทง การเล่นสนุกบางอย่างเป็นต้น จึงเห็นได้ว่าชีวิตจิตใจของคนไทยขึ้นอยู่กับแม่น้ำแท้ ๆ ที่บางแห่งหากน้ำเข้าไปไม่ถึง คนไทยก็มักจะช่วยกันขุดคลองให้เป็นทางน้ำไหลผ่านเข้าจนได้ ฉะนั้นในเมืองใหญ่ ๆ เช่นกรุงเทพฯ เราจะเห็นได้ว่ามีลำคลองมากมาย จนมีคำกล่าวว่ากรุงเทพฯ เท่ากับเป็นเมืองเวนิสตะวันออก ลำคลองที่เห็นกันในกรุงเทพฯ เวลานี้หลายท่านอาจเห็นไปว่า ไม่มีประโยชน์ มีไว้ทำไมกัน ถมเสียให้หมดรู้แล้วรู้รอดไปแต่ถ้าหลับตานึกย้อนไปถึงเมื่อ ๕๐–๖๐ ปีที่ล่วงมาแล้ว ลำคลองเหล่านี้แหละเท่ากับเป็นเส้นโลหิตใหญ่ของกรุงเทพฯ สมัยนั้นทีเดียว เพราะการสัญจรไปมา การค้าขาย การท่องเที่ยว ตลอดจนคมนาคมอื่น ๆ ของคนไทย ได้อาศัยลำน้ำและลำคลองมากยิ่งกว่าทางบก ข้อนี้สังเกตได้จากหลักฐานง่าย ๆ คือคนไทยโบราณมีความรู้ความชำนาญในการใช้เรือและรู้จักต่อเรือมากกว่าพาหนะที่ใช้บนบก เรือที่ต่อโดยฝีมือคนไทยก็มักรูปร่างและขนาดที่เหมาะแก่งานที่ใช้ เช่น พวกขุนนางอยากท่องเที่ยว เราก็มีเรือเก๋งไว้ให้เที่ยวโดยเฉพาะ ถ้าเป็นงานราชพิธีก็มีเรือหงส์ไว้ใช้ ถ้าต้องการเล่นเป็นเกมกีฬา เราก็มีเรือแข่ง นอกนั้น ก็มีเรือไว้ในบรรทุกเรือใช้งานต่าง ๆ เช่น เรือพายม้า เรือสำปั้น เรือหมู ถ้าต้องการไปไหนเร็ว ๆ และไปคนเดียวก็ใช้เรือบดเล็ก ๆ พายได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ทันอกทันใจ เรือต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ละแบบ แต่ละขนาด ล้วนเป็นเรือที่ต่อขึ้นใช้งานแต่ละอย่างได้อย่างเหมาะเจาะ นี่นับว่า การต่อเรือตลอดจน การประดิษฐ์แบบเรือ ในสมัยโบราณเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง แม้ในประเทศข้างเคียง เช่น พม่า มอญ ลาว เขมร มลายู เหล่านี้ ศิลปะการต่อเรือก็หาเจริญเท่าเมืองไทยไม่
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
อาหารสมัยก่อน
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด[1]
จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46,น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1[2]
การแต่งกายสมัยก่อน
การแต่งกายของสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งมี 3 แบบ ดังนี้
- การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่
- การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบ เมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ
- ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้น ลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อภิโชค แซ่โค้ว, 2542: 22)
การแต่งกายยุคกรุงศรีอยุธยา จึงแบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ (สมภพ จันทรประภา, 2526: 28)
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
สมัยศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 หรือ 12 สิ้นสุดลงประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นรัฐชายฝั่งทะเลที่มีอิทธิพลการค้าทางทะเลระหว่างอินเดียกับเมืองจีน รวมทั้งการค้าระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะในหมู่เกาะอินโดนีเซีย
จุดเริ่มต้นของอาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกำกับว่าเป็นพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง “พระเจ้ากรุงศรีวิชัย” และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งได้เดินทางโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ. 1214
ได้กล่าวว่า เมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟซิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟซิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ซิลิโฟซิ (Shih-li-Fo-Shih)ไปแล้ว ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเซลิโฟซิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัย อันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่างๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย
สมัยลพบุรี
ลพบุรีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘)
เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘ มี ไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ ๑๙ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว ๘ ศตวรรษ
เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘ มี ไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ ๑๙ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว ๘ ศตวรรษ
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัยใหม่
สังคมไทยสมัยใหม่
ความเจริญทางด้านการค้า การเห็นคุณค่าของการศึกษาหาความรู้และความสนใจรับวิทยาการจากตะวันตกของชนชั้นนำและสามัญชนในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นศูนย์กลางการค้า มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ได้มีการพัฒนาด้านสังคมและประเพณี เพื่อความทันสมัยการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและปฏิรูปสังคมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการเลิกระบบไพร่และการยกเลิกระบบทาส
การเลิกระบบไพร่ ไพร่มีความสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการดึงการควบคุมกำลังจากขุนนางเจ้านายมาสู่พระมหากษัตริย์โดยให้มีการจัดทำสำมะโนครัวแทนการสักข้อมือ พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บเงินค่าราชการ ร.ศ.116 (พ.ศ.2441) ซึ่งลดเงินค่าราชการที่เก็บจากไพร่จากปีละ 18 บาท ให้เป็นปีละ 6 บาท และเปลี่ยนการควบคุมไพร่จากมูลนายมาให้ท้องที่ที่ไพร่อาศัยอยู่เป็นผู้ดูแลแทน พระราชบัญญัติเกณฑ์จ้าง ร.ศ.119 (พ.ศ.2444) เป็นการทำลายลักษณะของระบบไพร่ คือ ให้เลิกการเกณฑ์แรงงาน ไพร่เป็นอิสระในการประกอบอาชีพและเลือกที่อยู่อาศัยซึ่งนับว่าเป็นการคลี่คลายวิธีการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ และสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราซึ่งกำลังขยายเข้ามาในประเทศไทย และพระราชบัญญัติเก็บค่าราชการ ร.ศ.120 (พ.ศ.2445) กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเสียเงินค่าราชการคนละ 6 บาท เป็นอย่างสูงทั่วราชอาณาจักร นับว่าเป็นการทำลายระบบมูลนาย
ใน พ.ศ. 2448 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่ได้รับเลือกและมีอายุ 18-20 ปี เป็นทหารประจำการอยู่ 2 ปี แล้วปลดเป็นกองหนุนมีภาระหน้าที่ฝึกซ้อมทุกปีเป็นเวลา 15 ปี แล้วปลดพ้นจากการเสียเงินค่าราชการตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกต้องเสียเงินค่าราชการตามอัตราที่กำหนดของท้องถิ่นตน พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ทยอยประกาศใช้ทีมณฑลจนครบทั่วราชอาณาจักรในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการยุดติพันธะสังคมตามระบบไพร่ในสังคมไทยโดยปริยายและเป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่สมัยใหม่ สามัญชนซึ่งเคยอยู่ในฐานะไพร่และทาสหันไปประกอบอาชีพชาวนา ชาวไร่ กรรมการ ช่างฝีมือ ลูกจ้าง เสมียน เป็นต้น
การเลิกระบบทาสได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำเป็นขั้นตอนอย่างละมุนละม่อม ตั้งแต่ทรงออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ.2417 กำหนดให้ลูกทาสที่เกิดใน พ.ศ.2411 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เกษียณอายุเป็นไท เมื่ออายุ 21 ปี ห้ามขายตัวเป็นทาสอีก ทรงปลูกฝังค่านิยมในการบริจาคเงินไถ่ทาสให้เป็นอิสระ ขยายการศึกษาและอาชีพโดยตั้งโรงเรียนให้ลูกทาสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะสมัครใจเข้าเรียนและจะปล่อยให้เป็นไท ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลพายัพ พ.ศ.2443 พระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลบูรพา พ.ศ.2447 และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2448 ได้ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร พวกที่ซื้อขายทาสจะถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2451
การเลิกทาสและไพร่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปลดปล่อยให้พันจากพันธะทางสังคมในรูปแบบ ศักดินา เพื่อเป็นการพัฒนารองรับการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก
ในด้านการศึกษา การที่วัฒนธรรมและวิทยาการตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยพร้อมกับการเข้ามาของชาวตะวันตกได้ถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการเทคโนโลยีตะวันตกเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาแบบเดิมซึ่งอิงอยู่กับวัด วัง และบ้าน ขุนนางเจ้านายมาเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนตามแบบแผนตะวันตก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วไป และขยายไปทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีการตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกหัดข้าราชการ ซึ่งต่อสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนราชแพทยาลัย ซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ โรงเรียนกฎหมาย ฯลฯ ล้วนเป็นการพัฒนาคุณภาพของคนทั้งสิ้น
การเลิกระบบไพร่ ไพร่มีความสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการดึงการควบคุมกำลังจากขุนนางเจ้านายมาสู่พระมหากษัตริย์โดยให้มีการจัดทำสำมะโนครัวแทนการสักข้อมือ พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บเงินค่าราชการ ร.ศ.116 (พ.ศ.2441) ซึ่งลดเงินค่าราชการที่เก็บจากไพร่จากปีละ 18 บาท ให้เป็นปีละ 6 บาท และเปลี่ยนการควบคุมไพร่จากมูลนายมาให้ท้องที่ที่ไพร่อาศัยอยู่เป็นผู้ดูแลแทน พระราชบัญญัติเกณฑ์จ้าง ร.ศ.119 (พ.ศ.2444) เป็นการทำลายลักษณะของระบบไพร่ คือ ให้เลิกการเกณฑ์แรงงาน ไพร่เป็นอิสระในการประกอบอาชีพและเลือกที่อยู่อาศัยซึ่งนับว่าเป็นการคลี่คลายวิธีการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ และสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราซึ่งกำลังขยายเข้ามาในประเทศไทย และพระราชบัญญัติเก็บค่าราชการ ร.ศ.120 (พ.ศ.2445) กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเสียเงินค่าราชการคนละ 6 บาท เป็นอย่างสูงทั่วราชอาณาจักร นับว่าเป็นการทำลายระบบมูลนาย
ใน พ.ศ. 2448 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่ได้รับเลือกและมีอายุ 18-20 ปี เป็นทหารประจำการอยู่ 2 ปี แล้วปลดเป็นกองหนุนมีภาระหน้าที่ฝึกซ้อมทุกปีเป็นเวลา 15 ปี แล้วปลดพ้นจากการเสียเงินค่าราชการตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกต้องเสียเงินค่าราชการตามอัตราที่กำหนดของท้องถิ่นตน พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ทยอยประกาศใช้ทีมณฑลจนครบทั่วราชอาณาจักรในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการยุดติพันธะสังคมตามระบบไพร่ในสังคมไทยโดยปริยายและเป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่สมัยใหม่ สามัญชนซึ่งเคยอยู่ในฐานะไพร่และทาสหันไปประกอบอาชีพชาวนา ชาวไร่ กรรมการ ช่างฝีมือ ลูกจ้าง เสมียน เป็นต้น
การเลิกระบบทาสได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำเป็นขั้นตอนอย่างละมุนละม่อม ตั้งแต่ทรงออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ.2417 กำหนดให้ลูกทาสที่เกิดใน พ.ศ.2411 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เกษียณอายุเป็นไท เมื่ออายุ 21 ปี ห้ามขายตัวเป็นทาสอีก ทรงปลูกฝังค่านิยมในการบริจาคเงินไถ่ทาสให้เป็นอิสระ ขยายการศึกษาและอาชีพโดยตั้งโรงเรียนให้ลูกทาสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะสมัครใจเข้าเรียนและจะปล่อยให้เป็นไท ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลพายัพ พ.ศ.2443 พระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลบูรพา พ.ศ.2447 และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2448 ได้ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร พวกที่ซื้อขายทาสจะถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2451
การเลิกทาสและไพร่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปลดปล่อยให้พันจากพันธะทางสังคมในรูปแบบ ศักดินา เพื่อเป็นการพัฒนารองรับการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก
ในด้านการศึกษา การที่วัฒนธรรมและวิทยาการตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยพร้อมกับการเข้ามาของชาวตะวันตกได้ถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการเทคโนโลยีตะวันตกเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาแบบเดิมซึ่งอิงอยู่กับวัด วัง และบ้าน ขุนนางเจ้านายมาเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนตามแบบแผนตะวันตก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วไป และขยายไปทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีการตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกหัดข้าราชการ ซึ่งต่อสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนราชแพทยาลัย ซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ โรงเรียนกฎหมาย ฯลฯ ล้วนเป็นการพัฒนาคุณภาพของคนทั้งสิ้น
สมัยโบราณ
สมัยโบราณ
สมัยโบราณ
ภาพยุคโบราณ
|
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก
เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธ นักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว แต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวนักโบราณคดีจะศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูกมนุษย์เครื่องมือเครื่องใช้อาวุธต่างๆ เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับตลอดจนถ้ำเพิงพาภาพวาดที่มนุษย์อยู่อาศัยและวาดไว้ เป็นต้น และเนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มี อายุยาวนานมากนักโบราณคดีจึงต้องมีการแบ่งเป็นสมัยย่อย โดยใช้หลักเกณฑ์สำคัญ คือ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลักในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ ยุคหินกับยุคโลหะ
1.ยุคหิน (Stone Age)
เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธนักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปี มาแล้วแต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่ายุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการ เทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อย คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ดังนี้
1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age)
อยู่ระหว่าง 2,500,000-10,000 ปี มาแล้วมนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผายังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวรดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์หาปลาและเก็บหาผลไม้ในป่าเมื่ออาหารตามธรรมชาติ หมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไปมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆเครื่องมือที่ใช้ทั่วไปคือเครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้านไม่มี การฝนให้เรียบมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้แสงสว่างให้ความปลอดภัยและหุงหาอาหารมีการฝังศพทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายและมี การนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วยนอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสี ต่างๆได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อนและเหลืองภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโกประเทศฝรั่งเศส
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
การสถาปนากรุงธนบุรี
ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ 2 นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
ชุมนุมคนไทยทั้ง 5 ชุมนุม ได้แก่
- ชุมนุมเจ้าพิมาย
- ชุมนุมเจ้าพระฝาง
- ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
- ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
- ชุมนุมเจ้าตาก หรือพระยาตาก (สิน) ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้ ภายในปีเดียวกันนั้น โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช และการกอบกู้อิสรภาพ
พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) มารดาชื่อ นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก
พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก แล้วตั้งบที่มั่นที่เมืองจันทบุรี เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า พระเจ้าตากสิน หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
ภายหลังกู้เอกราชแล้ว พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า สภาพของรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก ทั้งนี้ เพราะ
- ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า
- กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้
- ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ
- ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา ข้าศึกษาสามารถโจมตีนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ
- กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล
พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
- กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
- ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขาย
- สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ
- ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้ สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้
- ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา
สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2325
สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี มีดังนี้ คือ
1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบทั้ง 2 ข้าง (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม และวัดอรุณราชวราราม)
2. ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
3. พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
4. ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หมายถึง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่า มาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศ ตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน
ความเจริญในด้านต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 มีดังนี้
- การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถือตามแบบสมัยอยุธยา โดยมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด
- การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้ คือ
- มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ
- สมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร และปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
- สมุหนายก เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
- มีจตุสดมภ์ทั้ง 4 ฝ่าย ภายใต้การดูแลของสมุหนายก ได้แก่
- เสนาบดีกรมเมือง
- เสนาบดีกรมวัง
- เสนาบดีกรมคลัง
- เสนาบดีกรมนา
- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น 3 ประเภท คือ
- หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา
- หัวเมืองชั้นนอก
- หัวเมืองประเทศราช ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชะานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมืองหลวง 3 ปีต่อครั้ง ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง
- กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 มีชื่อว่า กฎหมายตราสามดวง คือ ตราราชสีห์ ตราคชสีห์ และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5
- การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด วัง และตำหนักเจ้านาย รัชกาลที่ 3 โปรดให้จารึก ตำราการแพทย์แผนโบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
- การศาสนา การทำนุบำรุงศาสนา จะมีการทำสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ และการสร้างวัดสำคัญ เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม วัดสุทัศน์เทพวราราม และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เป็นต้น ในสมัยรัชกาลที่ 2 โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไป ของพระพุทธศาสนาในลังกา และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา กลับมา ในสมัยรัชกาลที่ มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจำนวนมาก จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
- ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิจักรวรรดินิยม ชาติตะวันตกที่สำคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่
- โปรตุเกส เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า และโปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุล ในประเทศ ได้สำเร็จเป็นประทเศแรก
- อังกฤษ พยายามทำไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษ ได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า ไทยกับอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 โดยมีสาระสำคัญ คือ ไทยกับอังกฤษ จะมีไมตรีจิตต่อกัน อำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)