อาณาจักรล้านนา (คำเมือง: ) คือ ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจนสิบสองปันนาเช่น เมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยาแพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน[3] โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือวัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด
ประวัติศาสตร์ไทย
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559
รถสมัยก่อน
ธุรกิจรถยนต์ยุคเริ่มต้นมีเพียงรถอิมพอร์ตเจ้าของร้านเป็นฝรั่งต่างชาติไม่กี่ร้านและแต่ละร้านก็สูญสลายไปใน เวลาต่อมาตำนานรถยนต์และธุรกิจรถยนต์ต่างเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นปัจจุบันเสียสิ้นจากฝรั่งสู่มือคนไทย รถคันแรกในเมืองบางกอก ปี 2406 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ตัดถนนสายแรกในมหานครขึ้นคือถนนเจริญกรุง ตั้งต้นที่กำแพงพระบรมมหาราชวังเลียบฝั่งเจ้าพระยาไปสิ้นสุดที่บางคอแหลมหรือถนนตกในปัจจุบัน ในยุคนั้นมีเพียงรถลากและรถม้าเป็นเจ้าครองถนนสายแรกที่มีความยาว 6.5 กม.และในช่วง 30 ปีต่อมาก็มีการตัดถนนเพิ่มเพียงไม่กี่สาย ในปี 2435 ในยุคของรัชกาลที่ 5 ถนนในเมืองบางกอกรวมกันแล้วมีความยาวเพียง 12 กม. แม้ถนนบางสายจะมีความกว้างถึง 20 เมตรก็ตาม หากหลับตานึกภาพบนท้องถนนสมัยนั้นมีรถยนต์มาวิ่งท่ามกลางรถม้าและ รถลากคงเกิดความโกลาหลไม่น้อย
บ้านคนสมัยก่อน
เรือนไทย คือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น
เนื้อหา
[ซ่อน]- 1ลักษณะทั่วไปของเรือนไทย
- 2โครงสร้าง
- 3เรือนไทยที่มีชื่อเสียง
- 4อ้างอิง
- 5แหล่งข้อมูลอื่น
การเดินทางสมัยก่อน
== กรุงเทพฯ เมื่อ ๕๐ ปีก่อน == big city
(((((((แต่โบราณกาลมาแล้ว ชีวิตประจำวันของคนไทย เกี่ยวพันอยู่กับลำแม่น้ำ จะปลูกบ้านสร้างเรือนกันที ก็ต้องเลือกปลูกในทำเลที่ใกล้แม่น้ำ หรือริมฝั่งแม่น้ำ วัดวาอารามส่วนมากก็ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ที่จับจ่ายซื้อขายแลกเปลี่ยนคือตลาด ก็ต้องเป็นที่ใกล้ริมลำแม่น้ำ แม้ธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ของไทยก็มักจะเกี่ยวพันอยู่กับแม่น้ำ เป็นต้นว่า การทอดกฐิน การลอยกระทง การเล่นสนุกบางอย่างเป็นต้น จึงเห็นได้ว่าชีวิตจิตใจของคนไทยขึ้นอยู่กับแม่น้ำแท้ ๆ ที่บางแห่งหากน้ำเข้าไปไม่ถึง คนไทยก็มักจะช่วยกันขุดคลองให้เป็นทางน้ำไหลผ่านเข้าจนได้ ฉะนั้นในเมืองใหญ่ ๆ เช่นกรุงเทพฯ เราจะเห็นได้ว่ามีลำคลองมากมาย จนมีคำกล่าวว่ากรุงเทพฯ เท่ากับเป็นเมืองเวนิสตะวันออก ลำคลองที่เห็นกันในกรุงเทพฯ เวลานี้หลายท่านอาจเห็นไปว่า ไม่มีประโยชน์ มีไว้ทำไมกัน ถมเสียให้หมดรู้แล้วรู้รอดไปแต่ถ้าหลับตานึกย้อนไปถึงเมื่อ ๕๐–๖๐ ปีที่ล่วงมาแล้ว ลำคลองเหล่านี้แหละเท่ากับเป็นเส้นโลหิตใหญ่ของกรุงเทพฯ สมัยนั้นทีเดียว เพราะการสัญจรไปมา การค้าขาย การท่องเที่ยว ตลอดจนคมนาคมอื่น ๆ ของคนไทย ได้อาศัยลำน้ำและลำคลองมากยิ่งกว่าทางบก ข้อนี้สังเกตได้จากหลักฐานง่าย ๆ คือคนไทยโบราณมีความรู้ความชำนาญในการใช้เรือและรู้จักต่อเรือมากกว่าพาหนะที่ใช้บนบก เรือที่ต่อโดยฝีมือคนไทยก็มักรูปร่างและขนาดที่เหมาะแก่งานที่ใช้ เช่น พวกขุนนางอยากท่องเที่ยว เราก็มีเรือเก๋งไว้ให้เที่ยวโดยเฉพาะ ถ้าเป็นงานราชพิธีก็มีเรือหงส์ไว้ใช้ ถ้าต้องการเล่นเป็นเกมกีฬา เราก็มีเรือแข่ง นอกนั้น ก็มีเรือไว้ในบรรทุกเรือใช้งานต่าง ๆ เช่น เรือพายม้า เรือสำปั้น เรือหมู ถ้าต้องการไปไหนเร็ว ๆ และไปคนเดียวก็ใช้เรือบดเล็ก ๆ พายได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ทันอกทันใจ เรือต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ละแบบ แต่ละขนาด ล้วนเป็นเรือที่ต่อขึ้นใช้งานแต่ละอย่างได้อย่างเหมาะเจาะ นี่นับว่า การต่อเรือตลอดจน การประดิษฐ์แบบเรือ ในสมัยโบราณเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง แม้ในประเทศข้างเคียง เช่น พม่า มอญ ลาว เขมร มลายู เหล่านี้ ศิลปะการต่อเรือก็หาเจริญเท่าเมืองไทยไม่
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559
อาหารสมัยก่อน
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด[1]
จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46,น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1[2]
การแต่งกายสมัยก่อน
การแต่งกายของสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งมี 3 แบบ ดังนี้
- การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่
- การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบ เมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ
- ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้น ลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อภิโชค แซ่โค้ว, 2542: 22)
การแต่งกายยุคกรุงศรีอยุธยา จึงแบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ (สมภพ จันทรประภา, 2526: 28)
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
สมัยศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย
อาณาจักรศรีวิชัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 หรือ 12 สิ้นสุดลงประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 – 19 เป็นรัฐชายฝั่งทะเลที่มีอิทธิพลการค้าทางทะเลระหว่างอินเดียกับเมืองจีน รวมทั้งการค้าระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะในหมู่เกาะอินโดนีเซีย
จุดเริ่มต้นของอาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23 ซึ่งมีศักราชกำกับว่าเป็นพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง “พระเจ้ากรุงศรีวิชัย” และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching) ซึ่งได้เดินทางโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ. 1214
ได้กล่าวว่า เมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟซิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟซิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ซิลิโฟซิ (Shih-li-Fo-Shih)ไปแล้ว ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเซลิโฟซิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัย อันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่างๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)