วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยใหม่

สังคมไทยสมัยใหม่
ความเจริญทางด้านการค้า การเห็นคุณค่าของการศึกษาหาความรู้และความสนใจรับวิทยาการจากตะวันตกของชนชั้นนำและสามัญชนในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นศูนย์กลางการค้า มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ได้มีการพัฒนาด้านสังคมและประเพณี เพื่อความทันสมัยการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและปฏิรูปสังคมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการเลิกระบบไพร่และการยกเลิกระบบทาส

การเลิกระบบไพร่ ไพร่มีความสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของไทยดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการดึงการควบคุมกำลังจากขุนนางเจ้านายมาสู่พระมหากษัตริย์โดยให้มีการจัดทำสำมะโนครัวแทนการสักข้อมือ พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีเก็บเงินค่าราชการ ร.ศ.116 (พ.ศ.2441) ซึ่งลดเงินค่าราชการที่เก็บจากไพร่จากปีละ 18 บาท ให้เป็นปีละ 6 บาท และเปลี่ยนการควบคุมไพร่จากมูลนายมาให้ท้องที่ที่ไพร่อาศัยอยู่เป็นผู้ดูแลแทน พระราชบัญญัติเกณฑ์จ้าง ร.ศ.119 (พ.ศ.2444) เป็นการทำลายลักษณะของระบบไพร่ คือ ให้เลิกการเกณฑ์แรงงาน ไพร่เป็นอิสระในการประกอบอาชีพและเลือกที่อยู่อาศัยซึ่งนับว่าเป็นการคลี่คลายวิธีการเกณฑ์แรงงานตามระบบไพร่ และสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราซึ่งกำลังขยายเข้ามาในประเทศไทย และพระราชบัญญัติเก็บค่าราชการ ร.ศ.120 (พ.ศ.2445) กำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเสียเงินค่าราชการคนละ 6 บาท เป็นอย่างสูงทั่วราชอาณาจักร นับว่าเป็นการทำลายระบบมูลนาย

ใน พ.ศ. 2448 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ.124 โดยกำหนดให้ชายฉกรรจ์ที่ได้รับเลือกและมีอายุ 18-20 ปี เป็นทหารประจำการอยู่ 2 ปี แล้วปลดเป็นกองหนุนมีภาระหน้าที่ฝึกซ้อมทุกปีเป็นเวลา 15 ปี แล้วปลดพ้นจากการเสียเงินค่าราชการตลอดชีวิต ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกต้องเสียเงินค่าราชการตามอัตราที่กำหนดของท้องถิ่นตน พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ทยอยประกาศใช้ทีมณฑลจนครบทั่วราชอาณาจักรในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการยุดติพันธะสังคมตามระบบไพร่ในสังคมไทยโดยปริยายและเป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่สมัยใหม่ สามัญชนซึ่งเคยอยู่ในฐานะไพร่และทาสหันไปประกอบอาชีพชาวนา ชาวไร่ กรรมการ ช่างฝีมือ ลูกจ้าง เสมียน เป็นต้น

การเลิกระบบทาสได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเรื่องสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำเป็นขั้นตอนอย่างละมุนละม่อม ตั้งแต่ทรงออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ.2417 กำหนดให้ลูกทาสที่เกิดใน พ.ศ.2411 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ เกษียณอายุเป็นไท เมื่ออายุ 21 ปี ห้ามขายตัวเป็นทาสอีก ทรงปลูกฝังค่านิยมในการบริจาคเงินไถ่ทาสให้เป็นอิสระ ขยายการศึกษาและอาชีพโดยตั้งโรงเรียนให้ลูกทาสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะสมัครใจเข้าเรียนและจะปล่อยให้เป็นไท ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลพายัพ พ.ศ.2443 พระราชบัญญัติเลิกทาสในมณฑลบูรพา พ.ศ.2447 และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2448 ได้ประกาศพระราชบัญญัติเลิกทาสทั่วราชอาณาจักร พวกที่ซื้อขายทาสจะถูกลงโทษตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2451

การเลิกทาสและไพร่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปลดปล่อยให้พันจากพันธะทางสังคมในรูปแบบ ศักดินา เพื่อเป็นการพัฒนารองรับการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยแบบตะวันตก

ในด้านการศึกษา การที่วัฒนธรรมและวิทยาการตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยพร้อมกับการเข้ามาของชาวตะวันตกได้ถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการเทคโนโลยีตะวันตกเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาแบบเดิมซึ่งอิงอยู่กับวัด วัง และบ้าน ขุนนางเจ้านายมาเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนตามแบบแผนตะวันตก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วไป และขยายไปทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีการตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกหัดข้าราชการ ซึ่งต่อสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนราชแพทยาลัย ซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ โรงเรียนกฎหมาย ฯลฯ ล้วนเป็นการพัฒนาคุณภาพของคนทั้งสิ้นผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สมัยใหม่ไทย

สมัยโบราณ

สมัยโบราณ

สมัยโบราณ



ภาพยุคโบราณ


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก



เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธ นักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว แต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวนักโบราณคดีจะศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี  เช่น โครงกระดูกมนุษย์เครื่องมือเครื่องใช้อาวุธต่างๆ เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับตลอดจนถ้ำเพิงพาภาพวาดที่มนุษย์อยู่อาศัยและวาดไว้ เป็นต้น และเนื่องจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มี อายุยาวนานมากนักโบราณคดีจึงต้องมีการแบ่งเป็นสมัยย่อย โดยใช้หลักเกณฑ์สำคัญ คือ ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลักในการแบ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ ยุคหินกับยุคโลหะ
 1.ยุคหิน (Stone Age)
เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักนำหินมาปรับใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์และอาวุธนักโบราณคดีกำหนดให้ยุคหินของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สากล) อยู่ระหว่าง 2.5 ล้านปี ถึงประมาณ 4,000 ปี มาแล้วแต่เนื่องจากสิ่งที่เหลือเป็นหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบันมีเพียงชนิดเดียวคือหิน ดังนั้นเราจึงเรียกยุคนี้ว่ายุคหิน ทั้งนี้ยุคหินตามพัฒนาการ เทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ยังแบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อย คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ ดังนี้
1.1 ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Stone Age)
อยู่ระหว่าง 2,500,000-10,000 ปี มาแล้วมนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำหรือเพิงผายังไม่มีความคิดสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้วัสดุธรรมชาติหรือตั้งรกรากถาวรดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์หาปลาและเก็บหาผลไม้ในป่าเมื่ออาหารตามธรรมชาติ หมดก็อพยพไปหาแหล่งอาหารที่อื่นต่อไปมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักประดิษฐ์เครื่องมืออย่างหยาบๆเครื่องมือที่ใช้ทั่วไปคือเครื่องมือหินกะเทาะที่มีลักษณะหยาบใหญ่หนากะเทาะเพียงด้านเดียวหรือสองด้านไม่มี การฝนให้เรียบมนุษย์ยุคหินเก่ารู้จักนำหนังสัตว์มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มรู้จักใช้ไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้แสงสว่างให้ความปลอดภัยและหุงหาอาหารมีการฝังศพทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการตายและมี การนำเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธต่างๆของผู้ตายฝังไว้ในหลุมด้วยนอกจากนี้มนุษย์ยุคหินเก่ายังรู้จักสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งพบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้สีฝุ่นสี ต่างๆได้แก่ สีดำ น้ำตาล ส้ม แดงอ่อนและเหลืองภาพที่วาดส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ เช่น วัวกระทิง ม้าป่า กวางแดง เป็นต้น ภาพวาดที่มีชื่อเสียงของมนุษย์ยุคหินเก่าอยู่ที่ถ้ำลาสโกประเทศฝรั่งเศสtrang10

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยธนบุรี


   ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี

การสถาปนากรุงธนบุรี
แผนที่ประเทศไทยสมัยธนบุรี
     ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าแล้ว  บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง  ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม  การเสียกรุงครั้งที่ 2  นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า  จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
      ชุมนุมคนไทยทั้ง  5  ชุมนุม  ได้แก่
  1. ชุมนุมเจ้าพิมาย
  2. ชุมนุมเจ้าพระฝาง
  3. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
  4. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
  5. ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง  7  เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช  และการกอบกู้อิสรภาพ
     พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า  สิน  มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน)  มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก
      พระยาตาก มีฝีมือในการรบแข้มแข็ง  จึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา  แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ  500  คน  ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป  พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก  แล้วตั้งบที่มั่นที่เมืองจันทบุรี  เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร  เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว  พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ
      หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว  เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4  แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า  พระเจ้าตากสิน  หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี
     ภายหลังกู้เอกราชแล้ว  พระเจ้าตากสินมหาราชทรงพิจารณาว่า  สภาพของรุงศรีอยุธยา ได้เสื่อมโทรมลงไปมาก  ทั้งนี้  เพราะ
  1. ได้รับความเสียหายจากการรบแบบกองโจรของพม่า
  2. กรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตกว้างขวาง เกินกำลังของพระยาตาก ที่จะรักษาไว้ได้
  3. ข้าศึกษารู้จักภูมิประเทศเป็นอย่างดี  ทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ
  4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา  ข้าศึกษาสามารถโจมตีนได้ทั้งทางบกและทางน้ำ
  5. กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากปากน้ำมาก  ไม่เหมาะในการค้าทางทะเล
     พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
  1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก
  2. ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  สะดวกในการติดต่อค้าขาย
  3. สะดวกในการควบคุมกำลัง ลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ
  4. ถ้าไม่อาจต้านทานข้าศึกได้  สามารถย้ายที่มั่นไปอยู่ที่จันทบุรีได้
  5. ธนบุรี มีป้อมปราการที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา

สมัยรัตนโกสินทร์

 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

แผนที่ประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 1  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์     
   หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว  จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี  และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
     สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ  ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อ พ.ศ.  2325
    สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี  มีดังนี้  คือ
     1.  พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบทั้ง  2  ข้าง  (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม  และวัดอรุณราชวราราม) 
     2.  ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
     3.  พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม  สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
     4.  ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง  น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
     ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง  โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย  คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หรือวัดพระแก้ว  แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
      กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  หมายถึง  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัชกาลที่ 1  ถึง  รัชกาลที่  3  ซึ่งนับว่าเป็นระยะเชื่อมต่อระหว่างประวัติศาสตร์ไทยยุคเก่า มาสู่การปฏิรูป และพัฒนาประเทศ ตามแบบอารยธรรมตะวันตกในยุคปัจจุบัน
     ความเจริญในด้านต่าง ๆ  ในสมัยรัชกาลที่  1  ถึงรัชกาลที่  3  มีดังนี้
  1. ารปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ถือตามแบบสมัยอยุธยา  โดยมีพระมหาษัตริย์เป็นประมุขสูงสุด
  2. การปกครองส่วนกลาง มีลักษณะดังนี้  คือ
    • มีอัครมหาเสนาบดี  2  ตำแหน่ง  คือ
      • สมุหกลาโหม  เป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร  และปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
      • สมุหนายก  เป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน และปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ
    • มีจตุสดมภ์ทั้ง  4  ฝ่าย  ภายใต้การดูแลของสมุหนายก  ได้แก่
      • เสนาบดีกรมเมือง
      • เสนาบดีกรมวัง
      • เสนาบดีกรมคลัง
      • เสนาบดีกรมนา
  3. การปกครองส่วนภูมิภาค  แบ่งหัวเมืองออกเป็น  3  ประเภท  คือ
    1. หัวเมืองชั้นใน  หรือเมืองจัตวา
    2. หัวเมืองชั้นนอก
    • หัวเมืองประเทศราช  ถ้าเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลราชะานี จะต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้เมืองหลวง  3  ปีต่อครั้ง  ส่วนเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี ให้ส่งมาปีละครั้ง
  4. กฎหมายไทยในสมัยนี้ ถือตามแบบอย่างอยุธยาและธนบุรี  แต่ได้มีการแก้ไขตรวจสอบขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1  มีชื่อว่า  กฎหมายตราสามดวง  คือ  ตราราชสีห์  ตราคชสีห์  และตราบัวแก้ว ใช้สืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5
  5. การศึกษามีศูนย์กลางอยู่ที่วัด  วัง  และตำหนักเจ้านาย   รัชกาลที่  3  โปรดให้จารึก ตำราการแพทย์แผนโบราณ ไว้ที่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งได้ชื่อว่า  เป็นวัดมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
  6. การศาสนา  การทำนุบำรุงศาสนา จะมีการทำสังคายนา ชำระพระไตรปิฎก  การออกกฎหมายสำหรับพระสงฆ์ และการสร้างวัดสำคัญ  เช่น วัดพระศรีรัตนศาดาราม  วัดสุทัศน์เทพวราราม  และวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม  เป็นต้น  ในสมัยรัชกาลที่  2  โปรดให้ส่งทูตไปศึกษาความเป็นไป ของพระพุทธศาสนาในลังกา  และได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา กลับมา  ในสมัยรัชกาลที่  มีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดเป็นจำนวนมาก  จนนับได้ว่า เป็นสมัยที่มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
  7. ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ได้ขยายตัวมากขึ้น  เนื่องจากอยู่ในยุคแห่งการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม และลัทธิจักรวรรดินิยม  ชาติตะวันตกที่สำคัญ ที่เข้ามาติดต่อกับไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ได้แก่ 
    1. โปรตุเกส  เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อ  ชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ  เอด วิเสนท์ (องตนวีเสน) เป็นผู้อัญเชิญสาส์นเข้ามา ในรัชกาลที่ 1  ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยได้ส่งเรือไปค้าขาย กับโปรตุเกส ที่มาเก๊า  และโปรตุเกสได้ขอเข้ามาตั้งสถานกงสุล ในประเทศ ได้สำเร็จเป็นประทเศแรก
    2. อังกฤษ  พยายามทำไมตรีกับไทย เพื่อหวังประโยชน์ในดินแดนมลายู   ในสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษ ได้มาขอความช่วยเหลือให้ไทยไปช่วยรบกับพม่า  ไทยกับอังกฤษ ได้ทำสนธิสัญญา โดยสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ คือ สนธิสัญญาเบอร์นี ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2369  โดยมีสาระสำคัญ คือ  ไทยกับอังกฤษ จะมีไมตรีจิตต่อกัน  อำนวยความสะดวกในด้านการค้าซึ่งกันและกัน และเรือสินค้า ที่เข้ามาค้าขาย ต้องเสียภาษีเบิกร่อง หรือภาษีปากเรือ แทนการเก็บภาษีตามแบบเดิม

สมัยอยุธยา

สังคมในสมัยอยุธยา
       สังคมไทยในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยบุคคล  5  กลุ่ม  ได้แก่  พระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูง   ขุนนาง  ไพร่  ทาส  และผู้ที่ได้รับการยกย่องเลื่อมใสจากคนทุกกลุ่ม คือ  พระสงฆ์
      ลักษณะการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยมีลักษณะไม่ตายตัว  บุคคลอาจจะเสื่อมตำแหน่งฐานะทางสังคมของตนได้  ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ และคุณประโยชน์ที่มีต่อประเทศชาติ
  1. พระมหากษัตริย์ื  พระราชฐานะและอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา
    • ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพ  (ไทยได้รับแนวความคิดนี้ มาจากคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
    • ทรงเป็นประมุขของประเทศ  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
    • ทรงมีพระราชอำนาจในฐานะเป็นเจ้าชีวิต  และเจ้าแผ่นดิน
    • ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
  2. เจ้านาย  หมายถึง  พระราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์  มีสกุลยศลดหลั่น ตามลำดับ  คือ เจ้าฟ้า  พระองค์เจ้า  หม่อมเจ้า  ฯลฯ
  3. ขุนนาง  มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดิน ในการปกครองประเทศ  โดยพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานศักดินา ให้เป็นเครื่องตอบแทนอำนาจ และฐานะของขุนนาง มีดังนี้
    • ขุนนางเป็นชนชั้น ที่มีอำนาจมาก ทั้งในด้านการปกครอง และการควบคุมพลเมือง
    • ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงออกกฎหมายศักดินา จัดทำเนียบขันนาง ข้าราชการ ซึ่งประกอบด้วย ตำแหน่ง  ยศ  ราชทินนาม
    • ขุนนางที่มีไพร่พลมาก จะเป็นฐานแห่งกำลัง และอำนายที่สำคัญ  ปัญหา ความขัดแย้งในกลุ่มขุนนาง และเจ้านายจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  4. ไพร่  หมายถึงสามัญชนทั่วไป  นับว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ
    • ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนสังกัดต่อรัฐ  คือ องค์พระมหากษัตริย์  ต้องมาเข้าเวรเพื่อรับใช้ราชการปีละ 6 เดือน
    • ไพร่สม  หมายถึง  ไพร่ที่ขึ้นทะเบียนต่อเจ้านายและขุนนาง
    • ไพร่ส่วน  หมายถึง  ไพร่ที่ส่งผลิตผลมาแทนการเข้าเวร  เื่พื่อใช้แรงงาน
  5. ทาส  เป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม  แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
    • ทาสที่ไถ่ถอนตัวได้  เรียกว่า  ทาสสินไถ่
    • ทาสที่ไถ่ถอนตัวไม่ได้  เช่น  ทาสเชลย  ลูกทาสเชลย ฯลฯ
  6. พระสงฆ์  พระสงฆ์ไม่จำกัดชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง  แต่เป็นที่เคารพของคนทุกชนชั้น  บทบาทและความสำคัญของพระสงฆ์ มีดังนี้
    1. เป็นที่พึ่งทางใจของคนทุกชนชั้น
    2. เป็นบุคคลที่เปรียบเสมือนตัวเชื่อมของชนชั้นสูง กับชนชั้นต่ำ
    3. เป็นผู้ให้การศึกษา  เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ในสมัยก่อน
      สถาบันที่มีอิทธิพลต่อสังคมในสมัยอยุธยาเป็นอันมาก ได้แก่  พระพุธะศาสนา เพราะเป็นศาสนาของทุกชนชั้น และเป็นเครื่องจรรโลงเอกภาพของสังคม  วัดในพระพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญดังนี้
  1. เป็นศูนย์กลางของชุมชน
  2. เป็นสถานศึกษาเล่าเรียน โดยมีพระสงฆ์เป็นครู
  3. เป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมไทย
  4. เป็นสถานที่พบปะและจัดกิจกรรมของราษฎร
    ราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็ยพระนารายณ์มหาราช

สมัยสุโขทัย

 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย

           (พ.ศ.  1780 - 1981)
การสถาปนากรุงสุโขทัย
     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
  1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สถาปนาเป็นกษัตริย์  โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  1781
  2. พ่อขุนบางเมือง  เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  1820
  3. พ่อขันรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  พระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  "รามคำแหง"  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี  พ.ศ.  1822
  4. พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. 1843
  5. พระยางั่วนำถม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  1890
  6. พระมหาธรรมราชาที่  1  (พญาลิไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1890 - 1917
  7. พระมหาธรรมราชาที่  2  (พระเจ้าไสยลือไท)  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1917 - 1942  ช่วง  พ.ศ.  1921  ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
  8. พระมหาธรรมราชที่  3  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1942 - 1962  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
  9. พระมหาธรรมราชาที่  4  ครองราชย์ช่วง  พ.ศ.  1962 - 1981  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย  
     ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก
ในสมัยพ่่อขุนรามคำแห่ง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย
  • ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
  • ทิศตะวันออก  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
  • ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
  • ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หวงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี
     กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  200  ปี  คือ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1780 - พ.ศ.  1981  แต่ในราวปี  พ.ศ.  1983  กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัย ได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น  โดยมีพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา
     อาณาจักรอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งดี  มีกษัตริย์ที่เข้มแข็ง ได้ขยายอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ  และสามารถยึดครองอาณาจักสุโขทัยเป็นประเทศราชได้ ในสมัยพระมหาธรรมราชที่  2  และต่อมาในปี  พ.ศ.  1981  ก็ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา